หลักการและเหตุผล
จังหวัดสมุทรปราการ เป็นหนึ่งในจังหวัดภาคกลางและปริมณฑลของกรุงเทพมหานครที่รองรับการขยายตัวจากกรุงเทพมหานคร ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้าและบริการ การขนส่งและโลจิสติกส์ ทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ ดังนั้น การพัฒนาพื้นที่ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่ง และระบบโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอต่อการขยายตัวของเมืองสมุทรปราการจึงมีความจำเป็นต้องมีมาตรการทางผังเมืองเป็นเครื่องมือในการควบคุมและส่งเสริมการพัฒนาของเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน การคมนาคมขนส่ง การสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การบริการสาธารณะและสิ่งแวดล้อมต่างๆ
จังหวัดสมุทรปราการประกาศกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองสมุทรปราการฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ. 2537 และมีการปรับปรุงผังเมืองรวมสมุทรปราการตามลำดับ ปัจจุบันมีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2556 ประกาศใช้บังคับในเขตจังหวัดสมุทรปราการเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งตามพระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 (ณ ปีที่จัดทำรายงานการประเมินผลกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2556) ในมาตรา 26 กำหนดว่าการใช้บังคับผังเมืองรวมให้กระทำโดยกฎกระทรวงและต้องมีสาระสำคัญ ตามมาตรา 17 ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้วแต่กรณีจัดทำรายงานการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมการใช้บังคับผังเมืองรวมตามระยะเวลาที่คณะกรรมการผังเมืองกำหนด แต่ไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมใช้บังคับ ดังนั้น เมื่อครบระยะเวลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการได้ทำการประเมินผลผังเสนอต่อคณะกรรมการผังเมืองเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งคณะกรรมการผังเมืองพิจารณาแล้วมีแนวทางให้ปรับปรุงข้อมูลจำนวนประชากรเป้าหมายในการวางผังฯ ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ปรับปรุงข้อกำหนดและการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ด้านสิ่งแวดล้อมให้จัดหาสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยเพิ่มเติมและจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน การคัดแยกขยะโดยใช้หลักการนำมาใช้ใหม่ (3R) และจัดหาพื้นที่นันทนาการให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่และด้านการคมนาคม นโยบาย โครงการของรัฐให้ปรับปรุงเส้นทางคมนาคม ระบบเชื่อมต่อ และวางผังพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้า (TOD) เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สีเหลือง และสีม่วงโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) และมีมติเห็นชอบการประเมินผลกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2556 โดยให้ปรับปรุงผัง
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการในฐานะเจ้าพนักงานผัง จะดำเนินการให้มีการวาง/ปรับปรุงผังเมืองรวมสมุทรปราการ (ปรับปรุงครั้งที่ 3) ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อใช้เป็นกรอบการพัฒนาเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพตรงกับศักยภาพพื้นที่แต่ละบริเวณรวมทั้งเป็นการปรับปรุงผังเพื่อให้เชื่อมโยงกับผังกรุงเทพมหานครและปริมณฑลแบบไร้รอยต่อ และเป็นไปตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูล ด้านประชากร เศรษฐกิจ สังคม ระบบคมนาคมและโครงข่ายความเชื่อมโยง ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ พื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติ สิ่งแวดล้อม และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการวางและปรับปรุงผังเมือง
2. เพื่อวาง / ปรับปรุงผังเมืองรวมสมุทรปราการ (ปรับปรุงครั้งที่ 3) ให้สอดคล้องกับบทบาทศักยภาพ ปัญหา และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของจังหวัดสมุทรปราการ ตลอดจนความต้องการของประชาชนเพื่อการพัฒนาเมืองและชุมชน และประกาศใช้บังคับต่อเนื่องจากกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ
พ.ศ. 2556
3. เพื่อศึกษาจัดทำแผนงานโครงการพัฒนา และแผนปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นแผนแม่บทในการพัฒนาพื้นที่ด้านต่างๆ ในอนาคต
เป้าหมาย
ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดำเนินการวาง/ ปรับปรุงผังเมืองรวมสมุทรปราการ (ปรับปรุงครั้งที่ 3) ให้ครอบคลุมพื้นที่เขตวางผังเมืองรวมสมุทรปราการ และพื้นที่ในเขตปกครองของจังหวัดสมุทรปราการ รวมทั้งพื้นที่เกี่ยวเนื่องและพื้นที่ที่พิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญและจำเป็นในการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน และเป็นไปตามหลักวิชาการผังเมือง โดยสามารถกำหนดทิศทางและรูปแบบการพัฒนาเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วนของจังหวัดสมุทรปราการ
ขอบเขตด้านระยะเวลาดำเนินการ
ระยะเวลาการดำเนินการ 420 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญาจ้าง (ทั้งนี้ ไม่นับระยะเวลาการพิจารณาตรวจรับงานและการพิจารณาของคณะกรรมการชุดต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ รวมทั้งการพิจารณาของคณะกรรมการตามขั้นตอนการวางและจัดทำผังเมืองรวมตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562)
ขอบเขตการดำเนินงาน
ขอบเขตพื้นที่ศึกษาโครงการและพื้นที่ต่อเนื่อง
ครอบคลุมพื้นที่กำหนดเขตวางผังเมืองรวมสมุทรปราการ ตามแนวเขตปกครองของพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ รวมถึงพื้นที่เกี่ยวเนื่อง เป็นพื้นที่ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญและจำเป็นในการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรวม ซึ่งมีลักษณะสภาพทางกายภาพที่มีความสัมพันธ์กันเป็นพื้นที่ในเขตลุ่มน้ำท่าจีน เจ้าพระยาและบางประกง รวมถึงพื้นที่ที่มีโครงการพัฒนาที่สำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการและพื้นที่เกี่ยวเนื่องที่เป็นพื้นที่บางส่วนของจังหวัดกรุงเทพมหานคร และจังหวัดฉะเชิงเทรา
โดยขอบเขตพื้นที่ศึกษาการวางและจัดทำผังเมืองรวม ที่ได้กำหนดให้ดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ 2 ระดับ ประกอบด้วย
- ขอบเขตการปกครองของพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการและพื้นที่ต่อเนื่อง
- ขอบเขตการปกครองของพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ
แผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง
แผนที่แสดงพื้นที่เขตการปกครองส่วนภูมิภาคของพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ
ขอบเขตการปกครองของพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ
ระดับพื้นที่โครงการครอบคลุมเขตการปกครองจังหวัดสมุทรปราการ : โดยมีขอบเขต ดังนี้
ทิศเหนือ | ติดกับ | กรุงเทพมหานคร |
---|---|---|
ทิศใต้ | ติดกับ | อ่าวไทย (พื้นที่ชายฝั่งทะเล) |
ทิศตะวันออก | ติดกับ | จังหวัดฉะเชิงเทรา |
ทิศตะวันตก | ติดกับ | กรุงเทพมหานคร |
แผนที่แสดงพื้นที่เขตการปกครองส่วนท้องถิ่นของพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ
ขอบเขตการดำเนินงาน
1 | งานจัดทำแผนที่ งานเตรียมการฐานข้อมูล และจัดทำข้อมูลแผนที่ฐาน (Base map) แผนที่นามศัพท์ แผนที่กรรมสิทธิ์ แผนที่รูปแปลงที่ดินและแผนที่อื่นๆ ตามมาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมือง และแผนที่สำหรับประสานหน่วยงาน 245 หน่วยงาน |
---|---|
2 | งานศึกษาทางวิชาการ
|
3 | งานประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วม
|
4 | งานวางและจัดทำผังเมืองรวม ดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวม องค์ประกอบตาม พรบ. ผังเมือง พ.ศ. 2562
|
5 | งานประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วม การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมฯ จำนวนทั้งหมด 3 กลุ่มรวมกันไม่น้อยกว่า 600 คน ดังนี้
|
6 | ดำเนินการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองรวม |
7 | จัดทำโครงการพัฒนาตามผัง โดยกำหนดแผนงานหลักและจำนวนโครงการพัฒนาพื้นที่ จัดลำดับความสำคัญ จัดทำแผนปฏิบัติการวางผังและออกแบบโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและรูปแบบสถาปัตยกรรม โดยกำหนดงบประมาณโดยประมาณ ระยะเวลาในการดำเนินการของแต่ละโครงการ รวมถึงองค์กรหน่วยงานที่รับผิดชอบ วิธีการมาตรการ ปัญหาอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขวิธีการ มาตรการ ปัญหาอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้น |
8 | ดำเนินการประชุมต่อคณะกรรมการในชุดต่างๆ ตามขั้นตอนที่กรมโยธาธิการและผังเมืองกำหนด (ในกรณีดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ดังนี้
|
ขั้นตอนการวางและปรับปรุงผังเมืองรวมสมุทรปราการ (ปรับปรุงครั้งที่ 3)
การวางและปรับปรุงผังเมืองรวมสมุทรปราการ (ปรับปรุงครั้งที่ 3) ประกอบด้วยแผนผังต่างๆ ตามที่ได้ระบุไว้ในมาตรา 22 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2562 มีขั้นตอนการดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวม 8 ขั้นตอน
แผนดำเนินงานโครงการ
1. ระยะเวลาดำเนินการ
ระยะเวลาในการดำเนินการโครงการจ้างที่ปรึกษาวาง/ ปรับปรุงผังเมืองรวมสมุทรปราการ (ปรับปรุงครั้งที่ 3) ตามขอบเขตและเงื่อนไขในการดำเนินการเป็นระยะเวลา 14 เดือน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา หรือตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2563 ถึง 19 พฤศจิกายน 2564
2. แผนการดำเนินการและการส่งมอบงาน
- รายงานเบื้องต้น (Inception Report) ภายใน 30 วัน (1 เดือน) นับถัดจากวันลงนามในสัญญาจ้าง
- รายงานความก้าวหน้า (Progress Report) ภายใน 60 วัน (2 เดือน) นับถัดจากวันลงนามในสัญญาจ้าง
- รายงานการศึกษาขั้นกลาง (Interim Report) ภายใน 210 วัน (7 เดือน) นับถัดจากวันลงนามในสัญญาจ้าง
- รายงานการศึกษาร่างฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report) ภายใน 300 วัน (10 เดือน) นับถัดจากวันลงนามในสัญญาจ้าง
- รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ภายใน 420 วัน (14 เดือน) นับถัดจากวันลงนามในสัญญาจ้าง
3. ความก้าวหน้าโครงการ
การดำเนินโครงการ ณ เดือน พฤษภาคม 2566 อยู่ระหว่างดำเนินการในขั้นตอนที่ 3 การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (ตามมาตรา 9) ขั้นตอนนี้ สำหรับการประชุมประชาชนเป็นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการผังเมืองกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ และครอบคลุมการดำเนินการประชุมคณะกรมการที่ปรึกษาผังเมืองรวม และการประชุมคณะอนุกรรมการผังเมืองเพื่อประสานยุทธศาสตร์และแผนงานในการวางและจัดทำผังเมือง